"พระเจ้า ๑๐ชาติ"
การสร้างบารมีใน ๑๐ พระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์เจ้า ซึ่งเป็นการสร้างบารมีที่ยิ่งใหญ่ เรียกอีกประการหนึ่งว่าบารมี ๑๐ ทัศ คือ
๐ ทานบารมี
๐ สัจจะบารมี
๐ อุเบกขาบารมี
๐ ขันติบารมี
๐ ศีลบารมี
๐ ปัญญาบารมี
๐ อธิฐานบารมี
๐ เมตาบารมี
๐ วิริยะบารมี
๐ เนกขัมมะบารมี
และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งการสร้างบารมีทั้ง ๑๐ พระชาติสุดท้ายนั้น ทรงจุติ หรือมาเกิดเป็นมนุษย์ในแต่ละพระชาติดังมีพระนามและการบำเพ็ญพระบารมีดังนี้
- พระเตมีย์ใบ้..........ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
- พระมหาชนก........ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี
- พระสุวรรณสาม....ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี
- พระเนมิราช.........ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
- พระมโหสถ..........ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
- พระภูริทัต............ทรงบำเพ็ญศีลบารมี
- พระจันทราช........ทรงบำเพ็ญขันติบารมี
- พระพรหมนารท...ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
- พระวิฑูรบัณฑิต...ทรงบำเพ็ญสัจจบารมี
- พระเวสสันดร.......ทรงบำเพ็ญทานบารมี คือ บำเพ็ญด้วยการให้สิ่งที่ควรให้
พระเตมีย์
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญ..เนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม
เล่าเรื่องเตมียราชกุมาร เกรงการที่จะได้ครองราชสมบัติ เพราะทรงสลด พระหฤทัยที่เห็นราชบุรุษลงโทษโจรตามพระราชดำรัสของพระราชา เช่น เฆี่ยนพันครั้งบ้าง เอาหอกแทงบ้าง เอาหลาวเสียบบ้าง พระเตมีย์ราชกุมารจึงใช้วิธีแสร้งทำเป็นง่อยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ้ไม่พูดจากับใคร แม้จะถูกทดลองต่าง ๆ ก็อดกลั้นไว้ ไม่ยอมแสดงอาการพิรุธให้ปรากฏ ทั้งนี้เพื่อจะเลี่ยงการครองราชสมบัติ พระราชาปรึกษาพวกพราหมณ์ ก็ได้รับคำแนะนำใหนำราชกุมารไปฝังเสีย
พระราชมารดาทรงคัดค้านไม่สำเร็จก็ทูลขอให้พระราชกุมารครองราชสัก ๗ วัน แต่พระราชกุมารก็ไม่ยอมพูด ต่อเมื่อ ๗ วันแล้ว สารถีนำราชกุมารขึ้นสู่รถ เพื่อจะฝังตามรับสั่งพระราชา ขณะที่ขุดหลุ่มอยู่พระราชกุมารก็เสด็จลงจากรถ ตรัสปราศัยกับนายสารถี แจ้งความจริงให้ทราบว่ามีพระประสงค์จะออกบวช สารถีเลื่อมใสในคำสอนขอออกบวชด้วย จึงตรัสให้นำรถกลับไปคืนก่อน สารถีนำความไปเล่าถวายพระราชมารดา พระราชบิดาให้ทรงทราบ
ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารจึงได้เสด็จออกไปหา เชิญให้พระราชกุมารเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ แต่พระราชกุมารกลับถวายหลักธรรมให้ยินดีในเนกขัมมะ คือ การออกจากกาม พระชนกชนนีพร้อมด้วยบริวารทรงเลื่อมใสในคำสอนก็เสด็จออกผนวชและบวชตาม และได้มีพระราชาอื่นอีกเป็นอันมาก สดับพระราชโอวาทขอออกผนวชตาม
พระมหาชนก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญ..วิริยบารมี คือ ความพากเพียร ใจความสำคัญ คือ พระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยี่อของสัตว์น้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงว่ายน้ำโดยกำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่า เป็นชายควรเพียรร่ำไป อย่างเบื่อหน่าย (ความเพียร)เสีย, เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ปรารถนา, ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้
สุวรรณสาม
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญ..เมตตาบารมี คือ การแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตน ซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสี ชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนู ด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา
มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ และได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แม้เทวดาก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ต่อจากนั้นเมื่อพระราชาให้สั่งสอนต่อไปอีก ก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง
พระเนมิราช
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญ..อธิษฐานบารมี คือ..ความตั้งมั่นคง
เรื่องของพระเจ้าเนมิราชนี้ เป็นเรื่องที่อธิษฐานใจในการที่จะดำรงวงศ์ตระกูลของตนให้เป็นมา คือพระเจ้ากรุงมิถิลา ซึ่งเป็นวงศ์ของพระเจ้าเนมิราชนี้ ในบรรดาวงศ์เหล่านี้องค์ใดก็ตามที่ได้ครองราชสมบัติแล้ว พอปรากฎว่าเส้นพระเกศาหงอก โดยภูษามาลาเวลาที่จำเริญพระเกศา หรือว่าตบแต่งพระเกศาเมื่อเห็นเกศาหงอกก็ถอนมาให้ดู
พระเจ้าแผ่นดินเมื่อเห็นพระเกศาหงอกก็จะเวนราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส แล้วตัวเองก็จะออกบรรพชาบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าตราบจนสิ้นชีวิต เป็นอย่างนี้เรื่อยมาจนกระทั้งจะถึงกษัตริย์องค์สุดท้าย
ท่านกล่าวว่าขณะนั้นเนมิราชยังเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ได้พิจารณาเห็นว่าตนจะต้องสิ้นอายุ และในวงค์นี้ก็กำลังเสื่อมทรุดเพราะว่าไม่มีคนที่จะลงมาบำเพ็ญ จึงได้จุติลงมาเข้าสู่พระครรภ์ของพระมเหสีพระเจ้ากรุงมิถิลา เมื่อครบกำหนดทศมาส เจ้าเนมิราชก็ประสูติออกจากครรภ์พระมารดา บรรดาโหราทั้งหลายต่างก็พยากรณ์ต้องกันว่า พระราชกุมารพระองค์นี้จะต้องเป็นไปตามวงค์ที่เคยทำมา จึงให้นามว่า
พระเนมิราช
เจ้าเนมิราชนั้น เมื่อเจริญวัยขึ้นพอสมควรแล้ว พระบิดานั้นก็เส้นพระเกศาหงอกก็เลยเวนราชสมบัติให้เจ้าเนมิราชครอบครอง เจ้าเนมิราชปกติเป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม จำเริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ จึงได้รับสั่งให้ตั้งศาลขึ้นถึงห้าแห่งคือที่ประตูพระนครที่แห่ง และที่กลางเมืองอีกแห่ง ให้ทานแก่บรรดาผู้ที่ยากจนและขัดสนทั้งหลาย ตัวเองก็พยายามสั่งสอนประชาชนพลเมืองให้ประพฤติตนอยู่ในความดี ให้ยินดีแต่ในสิ่งอันอาจได้โดยชอบธรรม
วันหนึ่งเมื่อเจ้าเนมิราชจะถึงเวลาหมออายุขัย พระอินทร์จึงให้เสนาแต่งรถม้าไปทูลเชิญเจ้าเนมิราชกลับขึ้นไปเสวยสมบัติบนทิพยวิมาน เสนามาตย์ของพระอินทร์ต้องการที่จะอวดว่ารถม้าของตนสามารถที่จะเดินทางไปไหนก็ได้ดังประสงค์ ดังนั้นพระเนมิราชจึงขอให้พาพระองค์ไปชมนรกก่อนขึ้นสู่สวรรค์ เมื่อไปชมนรกก็เห็นสัตว์นรกต่าง ๆ ที่มีความทุกข์ทรมาน จนเมื่อได้กลับไปเฝ้าพระอินทร์ พระเนมิราชจึงขอกลับมาสู่โลกมนุษย์เพื่อการบำเพ็ญและสั่งสอนประชาชนให้ทำแต่ความดีเพื่อจะได้ไม่ตกนรก
พระมโหสถ
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญ..ปัญญาบารมี คือ..ความทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมี ความฉลาดรู้ สามารถแนะนำในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะที่ปรึกษาอื่น ๆ ที่ริษยาใส่ความ ด้วยความดีไม่พยาบาทอาฆาต ครั้งหลังใช้อุบายป้องกัน พระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรูซึ่งเป็นกษัตริย์พระนครอื่นได้
พระมโหสถบัณฑิต ปัญญามีอยู่กับใคร ผู้นั้นย่อมจะเอาตัวรอดได้ในทุกกรณี
ในกาลที่ล่วงมาพระเจ้าวิเทหะได้เสวยราชสมบัติในเมืองมิถิลา มีบัณฑิตประจำสำนักถึง ๔ คน มีนามว่า เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะ
วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหะทรงพระสุบินว่า ในพระลาน มีกองไฟลุกขึ้นรุ่งโรจน์โชตนาการอยู่มุมละกองและตรงกลางพระลานมีกองไฟเล็กนิดเดียวค่อย ๆ โตขึ้น ๆ จนใหญ่กว่ากองไฟทั้งสี่นั้น และสว่างจ้าไปหมดทั้งบริเวณสามารถจะมองเห็นแม้แต่สิ่งเล็ก ๆ ได้ ประชาชนพากันเอาดอกไม้ธูปเทียนมาบูชากองไฟนั้น และเที่ยวเดินไปมาอยู่ระหว่างกองไฟนั้น โดยไม่รู้สึกว่าจะร้อนเลย ส่วนพระองค์นั้นในพระสุบินว่ากลัวเสียเหลือเกิน จนกระทั่งตกพระทัยตื่น เมื่อทรงลุกจากแท่นบรรทมก็ยังทรงนึกอยู่
น่ากลัว จะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกับเราและราชอาณาจักรเป็นประการใดบ้าง
จนกระทั่งถึงเวลาเสด็จออกขุนนาง ทรงประพาราชกิจเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสกับบัณฑิตประจำราชสำนักทั้ง ๔ คนให้ทรงทำนายนิมิตนั้น บัณฑิตทั้ง ๔ ได้ทำนายว่า
ต่อไปจะมีคนดีเกิดขึ้นในราชอาณาจักรของพระองค์ ข้อที่พระองค์ทรงสุบินว่ามีกองไฟ ๔ กองนั้น ได้แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ คนนี้เอง และที่ว่ากองไฟเล็กเกิดขึ้นท่ามกลางนั้น คือจะมีบัณฑิตเกิดขึ้นในแว่นแคว้นของพระองค์ และบัณฑิตนั้นจะมีปัญญาแก้ไขความเดือนร้อนแก่ประชากรทุกถ้วนหน้า จะมีวาสนาบารมีสติปัญญารุ่งโรจน์กว่าพวกข้าพระพุทธเจ้าอีกเหลือล้นพ้นประมาณพระเจ้าค่ะ ข้าพระเจ้าจะให้เขาสืบดูว่าบัณฑิตผู้นั้นเกิดหรือยัง ถ้าเมื่อเกิดแล้ว จะใด้นำตัวเข้ามาบำรุงเลี้ยงไว้ในพระราชวัง
ผ่านไป ๑๐ เดือน มโหสถบัณฑิตคลอดจากครรภ์มารดาเมืองมิถิลา ในเวลาคลอดมือถือแท่งยาออกมาแท่งหนึ่ง เศรษฐีผู้เป็นบิดาปวดศรีษะมาถึง ๗ ปี ใช้ยานี้รักษาก็หายเป็นปลิดทิ้ง จึงตั้งนามว่า "มโหสถ" ประชาชนทราบข่าวว่ามียาดีต่างก็ทยอยมารักษา บิดาเศรษฐีก็ให้สืบดูว่ามีทารกใดเกิดวันเดือนปีเดียวกันกับมโหสถหรือไม่ หากมีก็รับมาเลี้ยงดูเป็นเพื่อนเล่นกับมโหสถ ในวัยเด็กมโหสถมักใช้ปัญญาแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดี
ล่วง ๗ ปี พระเจ้าวิเทหะทรงคิดได้ถึงสุบินนิมิตของพระองค์ และคำพยากรณ์ของนักปราชญ์ประจำราชสำนักทั้ง ๔ ท่าน ก็ได้ทรงส่งคนออกไปตรวจดูทั้ง ๔ ทิศ ว่าจะมีผู้ใดมีลักษณะที่จะเป็นบัณฑิตตามนิมิตของพระองค์ได้ อำมาตย์ ๔ คน ถูกใช้ให้ไปตรวจดูทั้ง ๔ ทิศ ของเมืองต่างคนก็แยกย้ายกันไปคนละทิศ คนหนึ่งไปทิศเหนือ คนหนึ่งทิศตะวันออก คนหนึ่งไปทิศตะวันตก และอีกคนหนึ่งไปทิศใต้
คนไปทางอื่นนอกจากทิศตะวันออก ไม่พบอะไรที่เป็น เครื่องส่อให้เห็นว่าจะมีนักปราชญ์เกิดขึ้นเลย ส่วนคนที่อื่นนอกจากทิศตะวันออก เมื่อเข้าไปถึงหมู่บ้านของศิริวัฒกะเศรษฐีผู้เป็นบิดาของเจ้ามโหสถ ได้เห็นศาลาและสระที่เจ้ามโหสถทำไว้ ตลอดจนได้ฟังกิตติศัพท์ของเจ้ามโหสถ ก็นำสิ่งที่ตนได้เห็นและฟังไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช ซึ่งพระองค์ก็เห็นว่าคงเป็นนักปราชญ์แน่แล้ว แต่เมื่อตรัสถามเสนกะก็กลับได้รับคำตอบว่า
ขอเดชะ อย่าเพิ่งด่วนลงพระทัยก่อน เพราะการสร้างศาลาเท่านั้นจะจัดว่าเป็นนักปราชญ์ไม่ได้
ทั้งนี้เพราะมิใช่อะไร เพราะเสนกะเกรงว่าลาภยศที่ตนได้นั้นลดน้อยลงไป หรืออาจจะต่อไม่ได้เลยเพราะปราชญ์คนใหม่เข้ามาแทนที่ตน ขอเดชะ ให้พระองค์ทรงพิจารณาต่อไปอีกหน่อย
เรื่องก็เป็นอันหมดลง พระเจ้าวิเทหะยังไม่ทรงรับเจ้ามโหสถมา แต่ก็ได้ส่งคนออกไปสังเกตการณ์ใกล้ชิด..มโหสถจึงถูกทดสอบปัญญาตลอดเวลา จนที่สุดแล้วก็ยังถูกกีดกันจากเสนกะด้วยความริษยาของเสนกะ
พระภูริทัต
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญบำเพ็ญ..ศีลบารมี คือ..การรักษาศีล.
มีเรื่องเล่าว่า ภูริฑัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ยอมอดทนให้หมองูจับไป ทรมานต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจมั่นต่อศีลของตน ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ
พระจันทกุมาร
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญ..ขันติบารมี คือ..ความอดทน
สมัยเมื่อพระเจ้าเอกราชครองราชสมบัติอยู่ในบุปผาดีนคร มีมเหสีพระนามว่าโคตมี และมีราชโอรสนามว่า จันทกุมาร มีปุโรหิตชื่อ กัณฑหาลพราหมณ์
กัณฑหาลพราหมณ์เป็นคนโลภ เมื่อมียศโดยพระเจ้าเอกราชมอบอำนาจให้พิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ก็ชอบกินสินบน จันทกุมาร เห็นคนถูกลงโทษเดินมาด้วยใบหน้าหม่นหมองจึงได้ตรัสถาม ก็ได้ความว่ากัณฑหาลพราหมณ์ ราชปุโรหิตาจารย์รับสินบนตัดสินไม่เป็นธรรม เมื่อพระราชกุมารช่วยไว้ได้ประชาชนก็พากันเลื่อมใสเปล่งสาธุการ ทำให้กัณฑหาลพราหมณ์ผูกอาฆาตในพระราชกุมาร
ต่อมาพระเจ้าเอกราชทรงราชสุบิน เห็นดาวดึงสเทวโลก เมื่อตื่นจากบรรทมทรงใคร่จะทราบทางไปสู่เทวโลก ตรัสถามกัณฑหาลพราหมณ์ จึงเป็นโอกาสให้พราหมณ์ แก้แค้นด้วยการกราบทูลแนะนำให้ตัดพระเศียรพระโอรส ธิดา เป็นต้นบูชายัญ
พระเจ้าเอกราชเป็นคนเขลา ก็สั่งจับพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชธิดา ๔ พระองค์ ไปที่พระลานหลวง เพื่อเตรียมประหารบูชายัญ นอกจากนั้นยังสั่งจับพระมเหสี ๔ พระองค์ และคนอื่น ๆ อีก เพื่อเตรียมการประหารเช่นกัน แม้ใครจะทัดทานขอร้องก็ไม่เป็นผล ร้อนถึงท้าวสักกะ( พระอินทร์) ต้องมาข่มขู่และชี้แจงให้หายเข้าใจผิดว่า วิธีนี้ไม่ใช่ทางไปสวรรค์ มหาชนจึงรุมฆ่าพราหมณ์ปุโรหิตนั้นและเนรเทศพระเจ้าเอกราช แล้วกราบทูลเชิญจันทกุมารขึ้นครองราชย์
พระพรหมนาท
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญ..อุเบกขาบารมี คือ..การวางเฉย
พระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติในมิถิลานคร มีราชธิดาองค์หนึ่งพระนามว่า รุจา และก็มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แม้จะมีสนมกำนันจำนวนมาก พระองค์เสวยราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรม พระราธิดาเล่าก็ประกอบไปด้วยลักษณะสวยงาม และมั่นคงอยู่ในศีลธรรมทุกกึ่งเดือนนางจะต้องจำแนกแจกทานเป็นนิจไป อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชามีอยู่ ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่งชื่อ วิชัย คนหนึ่งชื่อ สุนามะ คนหนึ่งชื่อ อลาตะ
เมื่อถึงคราวเทศกาลเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นฤดูกาลที่พระจันทร์เต็มดวงแลดูเป็นเครื่องเจริญตา ูพระเจ้าอังคติราชก็ให้มีการเฉลิมฉลองฤดูกาล มีมโหรสพเอิกเกริกทั่งพระนคร
ส่วนพระเจ้าอังคติราช พระองค์เสด็จประพาสในพระนครแล้วกลางคืนก็เสด็จออก ก็ได้ตรัสถามอำมาตย์ว่า
"วันนี้เป็นวันดี เราควรจะทำอย่างไรดี ? อลาตะอำมาตย์ซึ่งเป็นนักรบทูลว่า ในฤดูกาลอันเป็นที่น่ารื่นรมย์นี้ควรจะ้จัดทัพออกเที่ยวตระเวนตเมืองไว้ในพระราชอำนาจ
ก็ดีอยู่ แต่เรายังไม่นึกอยากจะทำ แล้วต่อไปใครเห็นควรจะทำอย่างไรดี สุนาอำมาตย์จึงกลาบทูลว่า
ท่านอลาตาเป็นทหารก็คิดแต่จะรบเพราะกีฬาอะไรจะสนุกเท่ากีฬารบไม่มี แต่กระหม่อมฉันเห็นว่าถ้าพระองค์จะตกแต่งมัชบานในราชอุทยาน จัดงานมีมโหรีขับกล่อม มีสนมกำนันฟ้อนรำขับร้องก็เห็นจะดีพระเจ้าค่ะ
ก็ดีอยู่ แต่ยังไม่ชอบใจเรา ใครจะว่ายังไงอีกล่ะ? วิชัยอำมาตย์เห็นว่าพระทัยของพระเจ้าอังคติราชไม่มีการทะเยอทะยาน ความโลภก็ไม่มี และมิใคร่ในกามคุณ ควรเราจะชักชวนในทางสงบจึงจะดี จึงกราบทูลว่า
"ขอเดชะ กระหม่อมฉันเห็นว่าในราตรีกาลอันแสนจะเบิกบานนี้ หากเสด็จไปสู่สำนักของปราชญ์สนทนาปราศรัยสดับธรรมก็จะด พระเจ้าอังคติราชพอพระทัยทันที
อำมาตย์จึงพาพระองค์ไปสู่สำนักคุณาชีวก ผู้ที่อำอาตย์คิดว่าไม่มีกิเลสและไม่อยากได้ใคร่ดีอะไรทั้งนั้น แม้เสื้อผ้าก็ไม่ต้องการ หากสนทนาอาจจะได้อะไรดี ๆ
พระเจ้าอังคติราชจึงสั่งให้จัดพลเสด็จไปยังสำนักของคุณาชีวกซึ่งเป็นชีเปลือย เมื่อถึงเข้าไปถวายนมัสการถามทุกข์สุขซึ่งกันและกันแล้ว พอมีโอกาสก็ตรัสขึ้นว่า พระมหากษัตริย์ ควรประพฤติปฎิบัติอย่างไรในประชาชนพลเมือง เสนา ข้าราชบริพาน พระชนกชนนี อัครมเหสีและโอรสธิดา ยามตายไปแล้วจึงไปสู่สุคติ และคนที่ตายไปตกนรกเพราะทำอะไร
คุณาชีวกไม่รู้ว่าจะทูลตอบอย่างไรดี แต่ก็ทูลลัทธิตนขึ้นว่า
มหาบพิตร สุจริต ทุจริต จะได้มีผลอะไรก็หามิได้ บุญก็ไม่มี บาปก็ไม่มี มหาบพิตรให้ทาน มหาบพิตรก็เสียของไปเปล่าโดยไม่ได้อะไรตอบแทนเลย รักษาศีลเล่ามหาบพิครได้อะไร หิวข้าวแสบท้องเปล่าประโยชน์ สวรรค์นรกมีที่ไหนกัน บิดามาดาไม่มี เพราะธรรมชาติ ๗ อย่างมาประชุมกันเท่านั้น ธรรมชาติ ๗ อย่างคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์ ชีวิต การจะได้ดีได้ชั่วก็ได้ดีได้ชั่วเอง ไม่มีใครบันดาลให้ เมื่อทั้ง ๗ แยกกัน สุขทุกข์ก็ลอยไปในอากาศ ไม่มีใครทำลายชีวิตนั้นได้
ทุกสิ่งล้วนแต่เป็นธาตุประชุมรวมตัวกันและแยกสลายออกจากกันเท่านั้น อีกประการหนึ่ง คนที่จะต้องวนเวียนอยู่นั้นก็เพียง ๘๔ กัลป์เท่านั้น
เมื่อทราบดังนั้นพระเจ้าอังคติราชก็ยิ่งเกิดมิจฉาทิฏฐิ ไม่ยอมอนุญาตให้พระธิดาให้ทานอีกเพราะคิดว่าไม่มีผล พระธิดาจึงทรงวิตกกังวลกับความคิดมิจฉาทิฏฐิของพระราชบิดา จึงทรงอธิษฐานขอให้มีผู้ทรงศีลหรือสมณะมาช่วย เดือดร้อนถึงพระหรหม หรือ พระพรหมนาทที่จะเหาะลงมาสั่งสอนพระเจ้าอังคติราช
พรหมนารช่วยเปลื้องพระเจ้าอังคติราชให้กลับจากความเห็นผิด มามีความเห็นชอบตามเดิม (ความเห็นผิดนั้น เป็นไปในทางว่าสุขทุกข์เกิดเองไม่มีเหตุ คนเราเวียนว่ายตายเกิด หนักเข้าก็บริสุทธิ์ได้เอง ซึ่งเรียกว่าสังสารสุทธิ)
พระวิฑูรบัณฑิต
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญ..สัจจบารมี คือ..ความสัตย
์มีเรื่องเล่าว่าถึงวิฑูรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำประจำราชสำนัก พระเจ้าโกรพ พระวิฑูรเป็นผู้ี่ที่พระราชา และประชาชนรักใคร่เคารพนับถือมาก เทพเทวดาหลายชั้นเมื่อได้สดับฟังธรรมของพระวิฑูรบัณฑิตต่างก็ถวายเครื่องบูชาต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือนาคราชเมื่อได้สดับธรรมและไ้ด้เล่าประทานมเหสี นางประสงค์จะได้ฟังธรรมจากพระวิฑูรบัณฑิตจึงทำแกล้งป่วย และหาอุบายว่าหากจะให้หายป่วยต้องนำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมาให้จึงจะหายป่วย เมื่อธิดาพญานาคทราบดังนั้นจึงออกอุบายให้ปุณณกยักษ์ไปเอาหัวใจพระวิฑูร ปุณณกยักษ์จึงมาท้าพระเจ้าโกรพเล่นสกา โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าตนแพ้จักถวายมณีรัตนะอันวิเศษพร้อมม้า ถ้าพระราชาแพ้ก็จะพระราชทานทุกสิ่งที่ต้องการ เว้นแต่พระกายของพระองค์ ราชสมบัติ และพระมเหสี
ในที่สุดพระราชาแพ้ ปุณณกยักษ์จึงทูลขอตัววิฑูรบัณฑิต พระราชาจะไม่พระราชทานก็เกรงเสียสัตย์ พระองค์ตีราคาวิฑูรบัณฑิตยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทรงหน่วงเหนี่ยวด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ตกลงกันไปไต่ถามให้วิฑูรบัณฑิตตัดสิน วิฑูรบัณฑิตก็ตัดสินให้รักษาสัตย์ คือตนเองยอมไปกับยักษ์ ความจริงยักษ์ต้องการ เพียงเพื่อจะนำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตไปแลกกับธิดาพญานาค ซึ่งความจริงเป็นอุบายของภริยาพญานาคผู้ใคร่จะได้สดับธรรมของวิฑูรบัณฑิต จึงตกลงกับสามีว่า ถ้าปุณณกยักษ์ต้องการธิดาของตน ก็ขอให้นำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมา
แม้ยักษ์ก็เข้าใจคลาดเคลื่อนเพื่อจะหาวิธีฆ่าวิฑูรให้ตายเพื่อจะเอาหัวใจไปถวายพญานาค ยักษ์หาวิธีทำให้ตายก็ไม่ตาย วิฑูรบัณฑิตกลับแสดงสาธุนรธรรม( ธรรมของคนดี) ให้ยักษ์เลื่อมใส ปุณณกยักษ์จึงนำตัววิฑูรบัณฑิตลงไปยังเมืองพญานาคและได้แสดงธรรมแก่พญานาคและมเหสี ทำให้นางหายป่วย ในที่สุดก็ได้กลับสู่ กรุงอินทปัตถ์ มีการฉลองรับขวัญกันเป็นการใหญ่
พระเวสสันดร
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญ..ทานบารมี คือบริจาคทาน
พระเวสสันดรเป็นราชโอรสของพระนางผุสดี ผู้ซึ่งเคยเป็นมเหสีของพระอินทร์ ในขณะที่พระนางหมดบุญจากสวรรค์จะลงมาเกิดเป็นมนุษย์นั้นพระอินทร์ทรงประทานพร ๑๐ ประการ เมื่อพระนางได้มาเป็นมหาสีของพระเจ้ากรุงมัททราชแล้วทรงครรภ์ ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปประสูติพระราชโอรสยังอีกเมืองหนึ่ง แต่พระนางทรงคลอดพระโอรสในระหว่างทาง พระราชโอรสจึงมีพระนามว่า เวสสันดร
ซึ่งแปลว่าระหว่างพ่อค้า ในระหว่างที่ประสูติแล้ว พอพระกุมารลืมพระเนตรก็ถามพระมารดาถึงทรัพย์ที่จะทำทาน อันผิดแปลกจากประชาชนสามัญ ซึ่งกว่าจะพูดได้ก็ตั้ง ๓ เดือน ๖ เดือน หรือหนึ่งปีขึ้นไป พระราชมารดาก็พระราชทานทรัพย์ออกให้ทาน
เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พระชันษาก็ทรงอภิเษกกับพระนางมัททรีมีพระโอรสและธิดาคือกัญหา-ชาลี และยังมีช้างเผือกคู่บารมี ครั้งนั้นเมืองกาลิงคะเกิดฝนแล้งข้าวยากหมากแพง พระราชาชาวกาลิงคะจึงปรึกษาเสนามาตย์ ก็กราบทูลว่าในเมืองของพระเวสสันดรมีช้างที่ทำให้ฝนตกได้ พระราชากาลิงคะจึงได้ไปขอพระราชทานช้าง พระเวสสันดรก็ประทานให้ เพื่อให้หายฝนแล้ง แต่ประชาชนโกรธแค้นขอให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากเมือง พระราชบิดา จึงจำพระทัยเนรเทศ ซึ่งพระนางมัทรีพร้อมด้วยโอรส ธิดาได้ตามเสด็จไปด้วย
ต่อมาขอทานชูชกก็ได้ไปขอสองกุมาร ก็ประทานอีก ภายหลังพระเจ้าสญชัยพระราชบิดาทรงไถ่สองกุมาร แล้วเสด็จไปรับกลับกรุง
( เรื่องนี้แสดงการเสียสละของพระองค์ท่านเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ คือการบำเพ็ญมหาทานเพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันจะเป็นทางให้ได้บำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้ดียิ่ง มิใช่เสียสละโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหรือเหตุผล)
|